Last updated: 2 Mar 2023 | 890 Views |
การที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ
แนวคิดของความยั่งยืน (Sustainability) คือความใส่ใจรายละเอียดในทุก ๆ มิติที่ไม่ใช่แค่เพียงมิติด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มันต้องประกอบไปด้วย 3 มิติด้วยกัน นั่นก็คือ โลก (Planet) ผู้คน (People) และผลกำไร (Profit) หรือที่เราเรียกว่า 3P ที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุล และนำมาปรับใช้กับธุรกิจโดยครอบคลุมด้านสังคม (Social) เศรษฐกิจ (Economic) และสิ่งแวดล้อม (Environmental) ซึ่งในแนวคิดของความยั่งยืน (Sustainability) นั้นก็พัฒนามาจากการทำธุรกิจในสมัยก่อนที่เรามุ่งเน้นแต่เรื่องของผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบด้านประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ที่เราทำร้ายโลกใบนี้ด้วยกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้แบรนด์และธุรกิจต่าง ๆ นั้นต้องหันมาใส่ใจกับการให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ที่มากกว่าเรื่องของผลกำไร รวมทั้งคนใน Generation ใหม่ ๆ ก็ให้ความใส่ใจกับแบรนด์ที่ใส่ใจโลกและสังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งจะกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในยุคใหม่
Zero Waste
Avoid: การเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดขยะที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เลี่ยงการใช้วัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ เท่าที่ทำได้
Recycle: เป็นการนำวัสดุต่างๆ ที่เหลือใช้และกำลังจะถูกทิ้งหรือถูกทำลายกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ทำให้เป็นขยะสูญเปล่า เช่น การนำขวดพลาสติกเหลือทิ้งกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งของอื่นๆ ได้ใหม่ การนำมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยคอก การนำกาบมะพร้าวมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
Reduce: เป็นการใช้วัสดุที่ทำให้การเพิ่มปริมาณขยะน้อยลง เช่น การลดใช้วัสดุสิ้นเปลือง เช่น กระดาษเอกสาร โดยการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทน และลดการสร้างขยะเพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยหันมาใช้ถุงผ้าในการบรรจุสิ่งของแทนการใช้ถุงพลาสติก ใช้ที่บรรจุอาหารที่สามารถล้างและใช้ซ้ำได้ ทดแทนการบรรจุอาหารในกล่องพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น
Reuse: เป็นการนำเอาวัสดุนั้น ๆ กลับมาใช้ใหม่ แม้จะเคยใช้ไปแล้วมากกว่า 1 ครั้งก็ยังใช้งานต่อได้ เช่น การนำกล่องพัสดุที่ได้รับมาจากร้านค้าออนไลน์ กลับไปส่งต่อให้ผู้อื่นได้ใช้งานอีกครั้ง
Zero waste กับอาหารเสริม
- อาหารเสริมที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ 100% ทั้งเนื้อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อต่าง ๆ ด้วย
- บรรจุภัณฑ์จะมีความเรียบง่าย และผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ 100% เช่น ไม้ไผ่ ซังข้าวโพด เพื่อลดการเกิดขยะนั่นเอง
Green Beauty
- สร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างจิตสำนึกต่อโลกมากขึ้น
- ประสิทธิภาพการทำงานของอาหารเสริมที่ดีขึ้น จากการใช้กระบวนการผลิตแบบโอลีโอเคมี ด้วยการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิต โดยส่วนผสมจากธรรมชาติเหล่านี้สามารถช่วยลดโอกาสในการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ตลอดจนลดอาการแพ้ได้
(โอลีโอเคมี Oleochemical คือกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของไขมันพืชและสัตว์ ปัจจุบันนั้นมีการนำไปใช้งานหลากหลายมากเนื่องจากเป็นสารกลุ่มชนิดที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และนำกลับมาใช้ได้อีก จึงเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก)
The differences: Green, Clean & Natural beauty
These beauty buzzwords are often being used interchangeably since there’s hardly any regulation as to what can be called green, clean or natural. Can you tell the differences between them? The key differences are summarised briefly below:
- Clean – containing non-toxic ingredients both natural and/or synthetic.
- Natural – with ingredients sourced from nature like plants, botanical extracts and minerals.
- Green – sourced from natural, organic ingredients; sustainable and environmental responsibility towards the planet.
ความแตกต่างระหว่าง natural และ organic
สารสกัดจากธรรมชาติ (Natural) จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ สารสกัดจากธรรมชาตินั้นจะต้องได้มาจากธรรมชาติ (Natural) เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันหอมระเหย
สารสกัดจากธรรมชาตินั้นจะต้องมีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ แต่อาจมีการกระบวนการผลิตบางอย่างที่ดัดแปลง จนได้ออกมาเป็นสารชนิดหนึ่ง (Natural Origin) เช่น Sodium Coco Glucoside ซึ่งเป็นสารสกัดที่ต้นกำเนิดมาจาก มะพร้าว เป็นต้น
สารสกัดจากธรรมชาติออร์แกนิก (Organic) คือ สารสกัดที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีดัดแปลงใด ๆ อีกทั้งแหล่งต้นกำเนิดของสารสกัดนั้น ๆ จะต้องไม่ผ่านการปลูกโดยใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป
มาตรฐานของ ECOCERT กำหนดไว้ดังนี้
สินค้าธรรมชาติ (Natural) จะต้องมีสารสกัดที่มาจากธรรมชาติ (Natural) หรือสารสกัดที่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ (Natural Origin) อย่างน้อย 95% ของส่วนผสมทั้งหมด หากมีน้อยกว่านั้นจะไม่สามารถ กล่าวได้ว่าสินค้านั้นเป็นผลิตภัณที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ (Natural) ได้
ส่วน สินค้าออร์แกนิก (Organic) จะมีสิ่งที่เพิ่มเติมจากสินค้าธรรมชาติ คือจะต้องมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิกผสมอยู่ไม่ต่ำกว่า 10% ของส่วนผสมทั้งหมด ซึ่งส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิกนั้น ก็คือ สารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีใด ๆ และแหล่งต้นกำเนิดสารสกัดนั้น ๆ จะต้องไม่ผ่านการปลูกโดยใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป
Sustainability X Derma
Ingredients
- สารสกัดจากธรรมชาติ พืช ผัก และผลไม้
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมังสวิรัติ (Vegan) และมีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย (Low Lactose)
- เน้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารตกแต่งพันธุกรรม (GMO Free)
- วัตถุดิบทำจากพืช (plant-based ingredient) ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ (Allergy free)
Packaging
- เน้นใช้บรรจุภัณฑ์ชนิด Food grade เป็นวัสดุที่ปลอดภัย ไร้สิ่งเจือปน และปลอดสารเคมีตกค้าง สามารถนำมารีไซเคิลใช้งานใหม่ได้ 100% ไม่ทำให้เกิดเป็นมลพิษทางขยะ
- ใช้ถุงกระดาษ แทนพลาสติก
6 May 2024
13 May 2024
2 May 2024