Last updated: 8 ส.ค. 2566 | 8165 จำนวนผู้เข้าชม |
ซินไบโอติก (Synbiotics) คือ การนำโปรไบโอติก (Probiotics) ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกไป และพรีไบโอติก (Prebiotics) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของ Probiotics ที่ระบบทางเดินอาหารในร่างกายของเราไม่สามารถย่อยได้หรือดูดซึมได้มาผสานเข้าด้วยกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ทำให้การทำงานของ Probiotics มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อรวมโพรไบโอติกและพรีไบโอติกไว้ในผลิตภัณฑ์อาหารเดียวกัน เราจะเรียกผลิตภัณฑ์นั้นว่า ซินไบโอติก (Synbiotics)
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ มักมีการเติมซินไบโอติก (Synbiotics) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์มากขึ้น หากเลือกชนิดของ Probiotics และ Prebiotics ที่เหมาะสมกันไว้ในผลิตภัณฑ์เดียวกันแล้ว ก็จะยิ่งส่งเสริมให้การทำงานของซินไบโอติกให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ซินไบโอติก (Synbiotics) ประกอบไปด้วย โปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และพรีไบโอติก (Prebiotics) ที่เป็นแหล่งใยอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ ซึ่งถ้าเรารับประทาน Synbiotics เข้าไปในร่างกายก็จะยิ่งไปเสริมฤทธิ์ให้การทำงานของจุลินทรีย์โปรไบโอติกให้ยิ่งดี ทำให้ช่วยเพิ่มความสามารถในการไปเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลำไส้แข็งแรงและเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่ดีให้แก่ร่างกายมากยิ่งขึ้น กว่าการรับประทานอย่างใดอย่างนึงเข้าไป
เนื่องจากมีงานวิจัยต่างๆ พบว่า เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้นั้น มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของระบบลำไส้และช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารในร่างกายได้ดี จึงช่วยทำให้ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
ความสัมพันธ์ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกับจุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotics) และพรีไบโอติก (Prebiotics) พบว่าหากร่างกายได้รับจุลินทรีย์ทั้งสองในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ ได้
การรับประทานโปรไบโอติก (Probiotics) และพรีไบโอติก (Prebiotics) ในปริมาณที่เหมาะสม ยังส่งผลช่วยในเรื่องระบบการดูดซึมในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการดูดซึมโปรตีนไปใช้ผลิตกรดอะมิโนได้ดีมากขึ้น และมีการศึกษาเรื่องการดูดซึมระหว่างผงโปรตีนธรรมดากับผงโปรตีนที่มี Probiotics พบว่าผงโปรตีนที่มี Probiotics ช่วยเพิ่มระดับของกรดอะมิโนในร่างกาย ดังนั้นการรับประทานซินไบโอติก (Synbiotics) จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการพลังงานในการทำงาน ผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือผู้ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ
แบคทีเรียในลำไส้อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของคนเราจะมีจุลินทรีย์หลายร้อยชนิดอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นแบคทีเรียที่เป็นมิตรคอยผลิตสารอาหารสำคัญต่างๆ รวมถึงวิตามิน และช่วยย่อยสารอาหารบางชนิด มีการศึกษาพบว่าในลำไส้ของคนเป็นโรคอ้วนจะมีปริมาณของแบคทีเรียในลำไส้น้อยกว่าในร่างกายของคนรูปร่างสมส่วน
เนื่องจากโปรไบโอติก (Probiotics) จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่า เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่เสมือนทหารปกป้องผนังลำไส้จากแบคทีเรียที่ไม่ดี เสริมสร้างภูมิต้านทานและลดการเกิดโรคต่างๆ ในทางเดินอาหาร หากร่างกายเรามีสุขภาพดีแสดงว่าในทางเดินอาหารของเรามีความสมดุลของจุลินทรีย์ปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ดีในร่างกายแล้ว อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารของเราผิดปกติแน่นอน
โปรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ มีส่วนช่วยในการดูแลระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ ช่วยย่อย และสังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และทำหน้าที่คอยช่วยลดปริมาณของแบคทีเรียที่ไม่ดี เพิ่มแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายเข้ามาแทน รวมถึงป้องกันร่างกายจากจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้น
พรีไบโอติก (Prebiotics) เป็นส่วนของอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้ อาหารเหล่านี้จึงถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่และถูกย่อยสลายเป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotics) แทน ช่วยกระตุ้นการทำงานและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีในทางเดินอาหาร ได้แก่ Lactobacillus และ Bifidobacteria มากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปPrebiotics มักเป็นอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (fructooligo saccharide, FOS) และอินูลิน (inulin) เป็นต้น
จากการศึกษา เราได้ทราบว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) ที่เป็นอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (ผัก ผลไม้บางชนิด) ที่เราย่อยสลายไม่ได้เป็นเสมือนอาหารของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotics) ช่วยกระตุ้นการทำงานและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีได้ดีมากขึ้น ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้คนเรากินผักและผลไม้ วันละ 400 กรัมต่อวัน และนอกจากนั้นแล้วปริมาณโปรไบโอติก (Probiotics) ที่ดีที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติก (Probiotics) ต้องมีปริมาณจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่มีชีวิตอยู่คงเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 106 CFU ต่ออาหาร 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้น หากเรากินซินไบโอติก (Synbiotics) ที่ประกอบไปด้วย โปรไบโอติก (Probiotics) และพรีไบโอติก (Prebiotics) ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของเราแล้ว ก็จะยิ่งส่งเสริมด้านการทำงานของระบบในร่างกายให้ดีมากยิ่งขึ้น
ส่วนมากผลข้างเคียงจากการบริโภคมากเกินไปจะไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต สำหรับบางคนนั้นอาจจะทำให้มีอาการไม่สบายตัวเพราะเกิดแก๊สขึ้น ทำให้ท้องอืดได้ แต่ใช้เวลาไม่นานอาการผิดปกติจะค่อยๆ หายไปหากร่างกายเริ่มปรับตัวได้ และการรับประทานจุลินทรีย์พวกนี้จะไม่เหมาะกับคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ คนที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดหรือกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นจากโรคร้ายแรง จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานจึงจะดีที่สุด
ซินไบโอติก (Synbiotics) ซึ่งประกอบไปด้วย โปรไบโอติก (Probiotics) และพรีไบโอติก (Prebiotics) ถือเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง ลดการติดเชื้อจากแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ทำให้ระบบการขับถ่ายและระบบย่อยอาหารดียิ่งขึ้น ซึ่งในคนเราแต่ละคนก็จะมีปริมาณซินไบโอติกที่เหมาะสมแตกต่างกันไปขึ้นกับแต่ละบุคคล
การรับประทานซินไบโอติก (Synbiotics) เป็นอาหารเสริมเหมาะสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนัก หรือแม้กระทั่งคนที่มีปัญหาท้องผูกขับถ่ายไม่ค่อยดี จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเลยทีเดียว ซึ่งในปัจจุบันอาหารเสริมที่มีซินไบโอติก (Synbiotics) นั้นถูกผลิตออกมาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบแคปซูล ผงชงดื่ม ผงกรอกปาก
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มธุรกิจอาหารเสริม แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมนวัตกรรมใหม่ Derma Health เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตอาหารเสริมทุกประเภท พร้อมยินดีให้คำปรึกษาแก่คุณ หากสนใจสามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่
13 พ.ค. 2567
2 พ.ค. 2567
6 พ.ค. 2567
13 พ.ค. 2567