Last updated: 27 พ.ย. 2566 | 25261 จำนวนผู้เข้าชม |
ในช่วงที่ผ่านมากระแสของ Apple Cider Vinegar (ACV) หรือ น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากๆ ใน Social media ต่างๆ ซึ่งเป็นที่สนใจในหมู่รักสุขภาพทั้งหลาย และหันมารับประทานมากขึ้น เพื่อเจาะลึกข้อมูลของ ACV ว่ามีประโยชน์อย่างไร และวิธีการรับประทานที่ถูกวิธี รวมทั้งผลข้างเคียงของ ACV มีอะไรบ้าง วันนี้ทาง Derma Health จะขอนำทุกท่านมาทำความรู้จักผลิตภัณฑ์ตัวนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือ น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์วีนีการ์ (Apple Cider Vinegar) คือ น้ำส้มสายชูที่เกิดจากการหมักแอปเปิ้ลสดในถังไม้ (น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลบด) โดยไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนและกรอง จึงยังคงเอนไซม์ และแร่ธาตุจากธรรมชาติไว้อย่างครบถ้วน กำลังเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ มีคุณสมบัติเป็นกรดประมาณ 5% (Acetic Acid) มีกลิ่นที่ฉุน และลักษณะเป็นน้ำสีเหลืองใส คล้ายสีชา มีรสชาติเปรี้ยวจัดมีเส้นใยบาง ๆ ลอยอยู่ มีธาตุอาหารกว่า 30 ชนิด และวิตามิน 6 ชนิด มีกรดอะมิโน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ และมีส่วนประกอบของธาตุโพแทสเซียมสูง เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยในการแบ่งเซลล์ สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ เป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ หากขาดธาตุนี้จะทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ มีผลทำให้ผมหงอก แก่เร็ว เป็นต้น
สารสำคัญเด่นใน Apple Cider Vinegar อีกตัวคือ เพคติน (Pectin) ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) สามารถดูดซับน้ำตาลและไขมันไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยให้การเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน Apple Cider Vinegar กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประโยชน์ทางด้านสุขภาพของมันที่มีมากมายไม่ว่าจะเป็นช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ลดคอเลสเตอรอล หรือแม้กระทั่งช่วยบำรุงผิว ซึ่ง Apple Cider Vinegar เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติทำให้กลุ่มคนที่ชอบรักษารูปร่าง นักกีฬา หันมาสนใจกันอย่างแพร่หลาย และได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ผู้คนมักนิยมรับประทานโดยการผสมเทน้ำ Apple Cider Vinegar 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำผึ้งอีก 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำอุ่นเต็มแก้ว แล้วคนให้เข้ากัน ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็นประมาณ 30 นาที หรืออาจจะผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เพื่อลดกลิ่นความเป็นกรดและทำให้รับประทานง่ายขึ้น สำหรับคนที่พึ่งเริ่มหัดรับประทานแนะนำให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นฉุนและความเปรี้ยวของ ACV นั้นก็มีมากมาย จึงทำให้ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารเสริมเริ่มคิดค้นวิธีการทำให้รับประทาน ACV ง่ายมากขึ้น โดยทำมาในรูปแบบผงชงดื่ม แคปซูล หรือเม็ดตอก เพื่อให้การรับประทานง่ายขึ้น
Apple Cider Vinegar มีกรดอะซิติกที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย และต้านไวรัส จึงทำให้ผิวแข็งแรง นอกจากนี้ปริมาณกรดอัลฟ่าไฮดรอกซีใน ACV จะช่วยส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ส่งผลให้ผิวใส และมีสุขภาพผิวที่ดี
Apple Cider Vinegar มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ ทำหน้าที่เป็นยาฆ่าเชื้อโรค และทำลายแบคทีเรียตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยดีท็อกซ์และช่วยทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นกระบวนการล้างพิษตามธรรมชาติของร่างกาย โดยเฉพาะการขับสารพิษของตับ
Apple Cider Vinegar มีสารโพแทสเซียมสูงซึ่งมีส่วนช่วยในการแบ่งเซลล์ของร่างกาย ทำให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็ว ช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ ดังนั้นจึงช่วยชะลอความชรา ช่วยลดอาการผมร่วงและลดการเกิดผมหงอกได้อีกด้วย
เนื่องจากใน Apple Cider Vinegar มีส่วนช่วยในการลดการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค E.Coli ที่ก่อให้เกิดการอักเสบในทางเดินปัสสาวะได้โดยการทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น
Apple Cider Vinegar มีสารสำคัญที่ช่วยสามารถปรับปรุงการตอบสนองต่ออินซูลิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หลังรับประทานอาหารและเร่งการเผาผลาญไขมัน มีสาระสำคัญ คือ เพคติน (Pectin) ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ (Soluble Fiber) สามารถดูดซับน้ำตาลและไขมัน ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงส่งผลทำให้ช่วยลดความดันโลหิตได้
โดยมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและไขมัน โดยการเสริม Apple Cider Vinegar ในกลุ่มบุคคลที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจำนวน 39 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับการเสริมด้วย ACV 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และในการทดลองนี้ได้มีการจำกัดแคลอรีร่วมด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับ ACV มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไขมันในร่างกาย (BF) รอบเอว รอบสะโพก น้ำหนักของร่างกายที่ไม่มีไขมัน (LBM) และระดับไขมันที่เกาะในช่องท้อง (VAI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และ กลุ่มที่ได้รับ ACV มีค่าไตรกลีเซอไรด์ (TG) ที่ลดลง ในขณะที่ Control มีค่าเพิ่มขึ้น และกลุ่มที่ได้รับ ACV มีค่าคอเลสเตอรอล (TC) ลดลง และค่าสารกระตุ้นความอยากอาหาร (NPY) ลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับ ACV ยังมีค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้นอีกด้วย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริม
การรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมคือวันละ 2 ช้อนชาหรือน้อยกว่า ด้วยการผสมกับน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ แต่หากรับประทานชนิดเม็ด ขนาดที่แนะนำคือ 600-1,200 มิลลิกรัม (ปริมาณที่อย. อนุญาตให้รับประทาน/วัน)
เป็นที่รู้กันดีว่า Apple Cider Vinegar ต่างมีข้อดีมากมายต่อสุขภาพร่างกายของเรา แต่ถ้าหากเรารับประทานผิดวิธีหรือรับประทานมากเกินที่ร่างกายต้องการ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยผลข้างเคียงของการรับประทาน Apple Cider Vinegar มีดังนี้
1. ไม่ควรรับประทานแบบโดยตรงไม่ผสมกับน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ เพราะ ACV มีฤทธิ์เป็นกรดสูง หากรับประทานเข้าไปโดยตรงอาจจะทำลายเนื้อเยื่อปากและลำคอได้
2. สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มรับประทาน แนะนำให้เริ่มทานทีละน้อยๆ ก่อน เพราะหากรับประทานทีเดียวเยอะๆ จำนวนมาก อาจทำให้รู้สึกระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนกระเพาะอาหารได้ และควรดื่มน้ำตามปริมาณมากหากรู้สึกไม่ดี
3. เมื่อรับประทาน ACV ควรบ้วนปากด้วยทุกครั้ง เนื่องจากความเป็นกรดจะทำให้ฟันเราสึกกร่อน ทำลายสารเคลือบฟันเราได้
4. การรับประทาน ACV ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับของธาตุโพแทสเซียมต่ำลง และกระดูกบางได้ ถ้ารับประทานไปแล้วพบว่ามีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ทันที
5. สำหรับผู้ที่เป็นไทรอยด์ ไม่ควรรับประทาน ACV ก่อนและหลังกินยารักษาไทรอยด์
6. ไม่แนะนำสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจาก ACV อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงหรือมีปัญหาในการย่อย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
7. ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีสภาวะไตอ่อนแอ เพราะความเป็นกรดสูงจะทำร้ายไตได้
Apple Cider Vinegar ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ACV ช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มความอิ่ม ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด เร่งการเผาผลาญและบำรุงระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น รูปแบบตอกเม็ด 1,000mg
Apple cider vinegar powder
Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต
6 พ.ค. 2567
13 พ.ค. 2567
13 พ.ค. 2567
2 พ.ค. 2567