Last updated: 9 ต.ค. 2566 | 1953 จำนวนผู้เข้าชม |
วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เราจึงควรบริโภควิตามินเอให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง หลายๆคนอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของวิตามินเอคือช่วยในการบำรุงสุขภาพตา แต่ที่จริงแล้ววิตามินเอยังมีประโยชน์อีกมากมาย
วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นอีกหนึ่งวิตามิน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของส่วนต่างๆในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นดวงตา ผิวหนัง หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา
วิตามินเอ (Vitamin A) พบใน 2 รูปแบบหลัก คือ เรตินอลที่พร้อมใช้งาน (Performed vitamin A : retinol) และในรูปแบบสารตั้งต้น (Provitamin A carotenoids) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบสารเบต้าแคโรทีนมากที่สุด โดยจะพบในผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่
วิตามินเอ เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อการมองเห็นและสุขภาพตาของเรา การรับประทานวิตามินเอที่เพียงพอ จึงช่วยในการบำรุงสายตา และช่วยป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตาบางชนิดได้ เช่น โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ลดความเสียงในการเป็นต้อกระจก และยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการสูญเสียการมองเห็นในตอนกลางคืนได้อีกด้วย
วิตามินเอเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยวิตามินเอจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการตอบสนองต่างๆ ที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ และวิตามินเอยังเกี่ยวข้องกับการผลิตและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการดักจับเชื้อโรคและแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายได้
Provitamin A carotenoids เช่น เบเต้าแคโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สารต้านอนุมูลอิสระนี้จะปกป้องร่างกายของเรา ยับยั้งการเกิดภาวะเครียด (Oxidative stress) ซึ่งภาวะเครียดนี้จะเชื่อมโยงกับการเกิดภาวะโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และเบาหวาน เป็นต้น
วิตามินเออาจมีส่วนช่วยในการลดสิว โดยได้มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าเรตินอยด์ซึ่ง เป็นกลุ่มสารของอนุพันธุ์วิตามินเอ สามารถช่วยลดการเกิดสิวได้ และอาจมีส่วนช่วยในการลดรอยแผลเป็นจากสิวได้
วิตามินเอ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนในการช่วยป้องกันการเกิดฝ้า กระ และริ้วรอยที่เกิดก่อนวัยอันควร มีส่วนช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์ นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีในแสงแดดได้อีกด้วย
วิตามินเออาจมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งบางชนิด เนื่องจาก วิตามินเอมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ผักและผลไม้ที่มีสารแคโรทีนอยด์จึงอาจป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ โดยได้มีการศึกษา การเสริมวิตามินเอและเรตินอล อาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งช่องปาก มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ เป็นต้น
การได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ จะมีส่วนช่วยในการเสริมความแข็งแรงของกระดูกได้ ผู้ที่ได้รับวิตามินเอในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก กระดูกจะไม่มีความแข็งแรง อาจแตกหรือหักได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานวิตามินเอให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีสมบูรณ์มากขึ้น
ปริมาณวิตามินเอ ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ผู้หญิงควรได้รับวิตามินเอ 600 ไมโครกรัมของเรตินอล ต่อวัน ผู้ชายควรได้รับวิตามินเอ 700 ไมโครกรัมของเรตินอล ต่อวัน โดยการบริโภควิตามินเอไม่ควรเกิน 3000 ไมโครกรัมของเรตินอล ต่อวัน
แหล่งอาหารที่พบในวิตามินเอ (Vitamin A) จะพบมากในไข่แดง ตับ เครื่องในสัตว์ นม และพืชกลุ่มที่มีสารแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลือง สีส้ม เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ผักโขม คะน้า มะละกอสุก แครอท ฟักทอง ข้าวโพด และมันเทศ
เมื่อร่างกายขาดวิตามินเอ (Vitamin A) จะส่งผลให้เกิดอาการดังนี้
การบริโภควิตามินเอ (Vitamin A) เกินขนาด จะมีส่วนทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีต่อร่างกายได้ เนื่องจากวิตามินเอละลายในไขมัน ร่างกายจึงเก็บสะสมปริมาณวิตามินเอส่วนเกินไว้ที่ตับ ทำให้วิตามินเอสะสมในร่างกายได้ โดยผลข้างเคียงที่เกิดในร่างกาย มีดังนี้
วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีขึ้น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ลดการเกิดสิว ช่วยส่งเสริมกระดูกให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงควรบริโภควิตามินเอให้เพียงพอเพื่อให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง
Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต
13 พ.ค. 2567
13 พ.ค. 2567
6 พ.ค. 2567
2 พ.ค. 2567