โรคกระดูกพรุนภัยเงียบใกล้ตัว

Last updated: 9 ต.ค. 2566  |  840 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคกระดูกพรุนภัยเงียบใกล้ตัว

โรคกระดูกพรุนภัยเงียบใกล้ตัว


โรคข้อและกระดูก (Arthritis and bones) เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบไขข้อในร่างกายมนุษย์ เช่น ซึ่งโรค “กระดูกพรุน” เป็นอีกโรคยอดฮิตที่คนมักเป็นกัน สามารถพบได้ทุกวัยและวัยที่เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสูงและพบมากที่สุดคือ กลุ่มวัยชราและกลุ่มที่มักเกิดอุบัติเหตุ วันนี้ทาง Derma Health จะพามาทำความรู้จักกับโรคกระดูกพรุนว่ามีอาการยังไงบ้าง สาเหตุ กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็น รวมทั้งการป้องกันดูแลรักษาข้อเข่าของตัวเองค่ะ

รู้จักโรคกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความเสื่อมและบางลงของเนื้อกระดูก สาเหตุมาจากปริมาณของแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมในกระดูกน้อยลงไปด้วย ซึ่งทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติในการรับน้ำหนัก กระดูกจึงเปราะและแตกหักง่าย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก โรคนี้มักไม่แสดงอาการหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ นอกจากกระดูกแตกหรือหัก โดยกระดูกที่มักพบการหักได้บ่อย คือ สะโพก ข้อมือ และสันหลัง สาเหตุอาจจะมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราและส่วนหนึ่งมาจากอายุที่มากขึ้นทำให้แคลเซียมลดน้อยลง หากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่านี้ได้ เช่น โรคเก๊า โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบ

ในกระดูกจะประกอบไปด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) และเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน โดย “เซลล์สร้างกระดูก” จะทำหน้าที่สร้างกระดูกจากแคลเซียมและโปรตีน ส่วน “เซลล์สลายกระดูก” ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า หากร่างกายขาดแคลเซียมจะทำให้เซลล์สร้างกระดูกไม่สามารถสร้างกระดูกใหม่ได้ ทำให้การทำงานขาดสมดุล ส่งผลให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็น “โรคกระดูกพรุน”

ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุนและคนที่มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน



1.      อายุที่มากขึ้น (มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ขึ้นไป ซึ่งกระดูกจะบางลงทุก 1-3% ทุกปี)

2.   มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน  ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ก็ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกลดลงตามไปด้วย ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง

3.      พันธุกรรม โดยหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าคนทั่วไป

4.      คนผิวขาวและคนเอเชีย

5.      การขาดวิตามินดีและแคลเซียม

6.      สูบบุหรี่

7.      ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ

8.      ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด

9.      ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์

10.  เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ

11.  การเกิดอุบัติเหตุ



อาการของโรคกระดูกพรุน



1.      หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง

2.      มีอาการเปิดหลังเรื้อรัง หรือปวดกระดูกส่วนอื่นๆ

3.      ความสูงลดลง

4.      กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง

 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน


1.  การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนเสริม โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกไป จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างกระดูกได้ แพทย์จึงต้องเพิ่มฮอร์โมนชนิดนี้ให้
2.  การรับประทานอาหารให้สมส่วน โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
3.  การรักษาด้วยยา โดยการรับประทานยาลดการทำลายกระดูกและช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้น
4.  การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก
5.  การออกกำลังกายเป็นกระจำ
6.  ทำกายภาพบำบัด
7.  งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
8.  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
9.   รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดสมุนไพรและวิตามินที่ช่วยบำรุงกระดูก



อาหารเสริมบำรุงกระดูกมีอะไรบ้าง



อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงกระดูกถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการรักษาสุขภาพของตนเองอีกทาง โดยในวันนี้ทาง Derma Health จะพามารู้จักกับสารสกัด แร่ธาตุ และวิตามินในอาหารเสริมที่มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงกระดูกได้ค่ะ

1.  Collagen type II: เป็นคอลลาเจนชนิดหนึ่งที่พบมากในกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นและแข็งแรง กระดูกอ่อนส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนเป็นกระดูกในภายหลังยกเว้นกระดูกอ่อนที่ยังคงปกคลุมและปกป้องส่วนปลายของกระดูก เช่น จมูก หู หากขาดคอลลาเจนชนิดนี้ไปอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรคข้ออักเสบได้

2. Calcium: แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญมากในร่างกาย ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและเพิ่มมวลกระดูก

3. Black sesame: ในงาดำ 100 กรัม จะมีองค์ประกอบของแคลเซียมสูงถึง 1,452 มิลลิกรัม และแร่ธาตุอื่นๆ การทานงาดำแค่ 15 กรัม ก็จะได้รับแคลเซียม 210 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับการดื่มนม 1 แก้วแล้ว ส่งผลช่วยให้บำรุงกระดุกให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ในงาดำยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการอักเสบได้ ช่วยลดการอักเสบของข้อเข่าและความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าอักเสบได้

4.  Vitamin D3: เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียมในกระดูกและฟันในมนุษย์ได้ รวมถึงกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อในร่างกายต่างๆ ซึ่งหากขาดวิตามิน D จะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหารลดลง มวลกระดูกลดลง เมื่อลื่นล้มอาจเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้มากขึ้น

5.  Vitamin K1: วิตามินเคเมื่อให้ร่วมกับแคลเซียม จะมีส่วนช่วยให้การก่อตัวของกระดูกและการเรียงตัวของเนื้อกระดูกในร่างกายดียิ่งขึ้น ทำให้กระดูกมีความแข็งแรงและไม่เปราะง่าย

6.  Vitamin K2: วิตามิน K2 มีส่วนร่วมในการขนส่งแคลเซียมให้เข้าสู่เนื้อเยื่อกระดูก จึงมีคุณสมบัติเพิ่มปริมาณแร่ธาตุในเนื้อกระดูก และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกได้

 สรุป



       โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในสตรีสูงอายุ โดยมักจะพบเจอในกล่มผู้สูงอายุส่วนมากในเพศหญิง และคนที่เคยประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นผู้คนจึงเริ่มหันมาดูแลสุขภาพของตนเองไม่ว่าจะเป็นการดูแลร่างกายตัวเอง ด้วยการออกกำลังกายร่วมกับการดูแลจากแพทย์จะช่วยให้สามารถควบคุมและลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ รวมทั้งการรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงและเสริมแคลเซียมเข้าไปในร่างกายเพื่อเสริมการทำงานของเซลล์ที่สร้างกระดูกให้ทำงานได้ดีมากขึ้น


Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้