Last updated: 5 ก.ย. 2566 | 1285 จำนวนผู้เข้าชม |
ในแต่ละวันร่างกายของคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานและสารอาหาร ที่ได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย ได้รับสารอาหารครบก็จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารและสุขภาพกันมากขึ้นจึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันขึ้นมาอย่างหลากหลาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรรับประทานสารอาหารไหนเพิ่ม รวมถึงควรกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันอะไรบ้าง
บทความนี้เราจะพามาดู 5 สารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีประโยชน์ที่จะช่วยเพิ่มเติมสารอาหารที่ขาดไป
วิตามินซี (Vitamin C) คือวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ และเป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อนำไปสร้างคอลลาเจน โดยวิตามินซีเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง เราจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากการรับประทาน โดยส่วนมากวิตามินซีจะอยู่ในกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักผลไม้อาจต้องทานวิตามินซีเสริม
การรับประทานวิตามินซีมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ได้แก่
ปริมาณวิตามินซีที่เหมาะสมและควรได้รับต่อวันเพื่อช่วยในเรื่องภูมิต้านทานร่างกายและการบำรุงผิวพรรณ ไม่ควรทานเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหวัดหรือภูมิแพ้ ควรทานวิตามินซี 2,000 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล เพราะถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินความต้องการในแต่ละวัน อาจเกิดอาการถ่ายเหลวได้ ถ้าหากต้องการรับประทานวิตามินซีเสริม สามารถดูได้จากฉลากบนผลิตภัณฑ์ ที่จะกำกับปริมาณวิตามินซีที่เหมาะสมเอาไว้ว่าควรทานเท่าไหร่ และควรดื่มน้ำตามให้มาก ๆ
วิตามินซีจะอยู่ในกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ พบมากในส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม สตรอว์เบอร์รี ลิ้นจี่ มะนาว สับปะรด มะเขือเทศ พริกหวาน บรอกโคลี คะน้า ปวยเล้ง ใบมะรุม เป็นต้น
โรงงานรับผลิตอาหารเสริมวิตามินของเรา รับผลิต C Cap Skin Supplement หรือผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผิวกระจ่างใสชนิดแคปซูล ช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง กระจ่างใส ริ้วรอย สิว และจุดด่างดำดูจางลง ด้วยคุณค่าจากสารสกัดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น Rosehip สารสกัดส้มสีเลือด หรือ Resveratrol ที่ได้จาก Grape skin มีคุณสมบัติบำรุงผิวให้ผิวกระจ่างใส อีกทั้งยังมี Ascorbic acid หรือวิตามินซีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไข้หวัดอีกด้วย
วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีผลต่อการสร้างกระดูก การแบ่งเซลล์ของเส้นผมและผิวหนัง โดยร่างกายจะสร้างวิตามินดีจากแสงแดดอ่อน ๆ ช่วงเช้าและเย็น เมื่อผิวหนังโดนแสงแดดร่างกายจะสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมสร้างกระดูกและป้องกันโรคกระดูกต่าง ๆ การมีวิตามินดีในระดับที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เป็นปกติ
ช่วยดูดซึมแคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน
ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก
ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์
เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน
ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลได้ดีขึ้น
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ช่วยต้านโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ช่วยลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า
ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินดีจาก 2 ช่องทางคือ 1. จากการที่ผิวหนังได้รับแสงแดด และ 2. จากการรับประทานอาหาร วิตามิน และอาหารเสริม โดยปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายได้รับนั้น จะขึ้นอยู่กับอายุ และความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
อายุน้อยกว่า 1 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400 IU หรือ 10 ไมโครกรัม
อายุ 1-70 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 600 IU หรือ 15 ไมโครกรัม
อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินดี วันละ 800 IU หรือ 20 ไมโครกรัม
สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400-600 IU หรือ 10 ไมโครกรัม
สตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ควรได้รับวิตามินดี วันละ 2,000-4,000 IU หรือ 50-100 ไมโครกรัม
ร่างกายของเราสามารถรับวิตามินดีได้จากอาหารจำพวก ปลาแซลมอน หรือปลาแมกเคอเรลที่สุก ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม อาหารที่ช่วยเสริมวิตามินดี เช่น ซีเรียล ขนมปัง มาร์การีน
ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน Immu Boosting Jelly Strip เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบเจลลี่ สูตรเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและเพิ่มความสดชื่นด้วยวิตามิน ด้วยส่วนผสมของโสมสกัดที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังอุดมไปด้วย Yeast beta glucan, Elderberry, Acerola cherry, Emblica และ Finger root พร้อมส่วนผสมของสารอาหารมากมายหลายชนิด เช่น วิตามิน C, Zinc amino acid chelate และวิตามิน D3
ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดแดงหมดอายุจะปล่อยธาตุเหล็กคืนสู่ร่างกายเพื่อนำมาใช้ใหม่ หากร่างกายขาดธาตุเหล็กจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง จึงมีการผลิตธาตุเหล็กในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กจึงจะช่วยให้ร่างกายเกิดสมดุลและไม่ขาดธาตุเหล็ก
สังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc) เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ถึง 300 ชนิด รวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหาร และยังเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย กระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม ระบบประสาท ฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การสร้างภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินด้วย
ประโยชน์ของธาตุเหล็ก
ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย
ช่วยสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
ช่วยเสริมภูมิต้านทาน
ประโยชน์ของสังกะสี
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
รักษาผมร่วง บำรุงผม และเล็บให้แข็งแรง
เสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย ช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิ
ช่วยควบคุมเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้ดีขึ้น
ช่วยป้องกันเชื้อโรค ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมไม่ให้ก่ออันตรายกับร่างกาย
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และช่วยให้ร่างกายกำจัดเชื้อโรคได้เร็ว
ช่วยบำรุงและซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอ
ช่วยให้อาการหวัดให้หายเร็วขึ้น
ปริมาณธาตุเหล็กที่ควรได้รับต่อวันควรบริโภคตามปริมาณที่แพทย์แนะนำเท่านั้น เพราะร่างกายสามารถรับธาตุเหล็กจากการรับประทานอาหารได้ และไม่ควรบริโภคอาหารเสริมธาตุเหล็กด้วยตนเองถ้าไม่มีความเห็นจากแพทย์ เพราะการบริโภคธาตุเหล็กที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่วนปริมาณสังกะสีที่ควรได้รับแต่ละวันโดยเฉลี่ยประมาณ 15 mg เพราะร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสังกะสีขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับสังกะสีจากการรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เลือด ตับ เครื่องในสัตว์ ธัญพืช แป้ง ไข่แดง อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ผักใบเขียวเข้ม จำพวก คะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ตำลึง
อาหารที่มีสังกะสีสูง เช่น อาหารทะเลต่าง ๆ หอยนางรม ปลา เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง เห็ด ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ธัญพืช เมล็ดฟักทอง เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงผิว ผม และเล็บ Hair & Nail Brightening Skin รูปแบบผงกรอกปาก มาพร้อม Zinc, Iron, Copper และ Folic Acid ที่จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ช่วยให้ผมแห้งเสียกลับมาดูสุขภาพดี เงางาม เส้นผมมีน้ำหนักไม่แห้งและชี้ฟู ช่วยฟื้นฟูเล็บให้มีสุขภาพดี ไม่เปราะหักง่าย ด้วยสารสกัดจาก Whita Enzyme ที่อุดมไปด้วย Gluta, Coenzyme QH และ Vitamin E จะช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส ลดเลือนริ้วรอย ผิวเกิดวามชุ่มชื้น กระชับ และดูสดใสขึ้น
วิตามินเอ (Vitamin A) พบได้ตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิด เช่น นม ไข่ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว ผักใบเหลือง เป็นต้น วิตามินเอจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก รวมถึงช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและสายตา
ช่วยป้องกันโรคตาฟางในตอนกลางคืน
ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางสายตา เช่น เยื่อบุตาขาวแห้ง กระจกตาเป็นแผล กระจกตาขุ่นเหลว
ช่วยบำรุงรักษาเยื่อบุผิวของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต
ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของกระดูก
ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับต่อวันตามแต่ละช่วงอายุ มีดังนี้
ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรได้รับวิตามินเอจากน้ำนมแม่เป็นหลัก
ทารกอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี 8 ควรได้รับวิตามินเอ 400 mcg ต่อวัน
เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 450 mcg ต่อวัน
เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 500 mcg ต่อวัน
เด็กผู้ชายอายุ 9-15 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 600 mcg ต่อวัน
ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 700 mcg ต่อวัน
ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 600 mcg ต่อวัน
ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวิตามินเอ เพิ่มจากปกติ 200 mcg ต่อวัน และผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร ควรเพิ่มจากปกติ 375 mcg ต่อวัน
วิตามินเอสามารถพบได้จากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น และพบได้มากจากผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเหลือง ผักสีส้ม และผักสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด แครอท ผักบุ้ง มันฝรั่ง ฟักทอง ผักคะน้า เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์บำรุงสายตารูปแบบแคปซูล Luteina Berry Complex ลดอาการตาพร่ามัว ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดจากดาวเรืองภายใต้มาตรฐาน GAP สารตระกลูแคโรทีนอยด์ และมีบิลเบอร์รี (Bilberry) ที่ช่วยป้องกันต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงมะเขือเทศที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีบทบาทสำคัญในการบำรุงร่างกาย ป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา และช่วยบำรุงสายตา
โปรตีนคือสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อ ร่างกายของคนเราสามารถสร้างกรดอะมิโนเองได้ 9 ชนิด แต่ก็ยังต้องการกรดอะมิโนอีก 11 ชนิดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแหล่งของอะมิโนเพิ่มเติมนั้นได้มาจากเนื้อสัตว์และโปรตีนจากพืช
โปรตีนช่วยลดน้ำหนัก เพราะอาหารที่มีโปรตีนสูงจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว
โปรตีนสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการรับประทานโปรตีนจากพืชจะช่วย
เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น
โปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
โปรตีนจะช่วยการผลิตสเปิร์มและลดความเสี่ยงการเป็นหมันในเพศชาย
ช่วยควบคุมฮอร์โมนในเพศหญิงให้เป็นปกติ
ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก สุขภาพ และพฤติกรรมการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะต้องการโปรตีนอย่างต่ำวันละ 50 กรัม ส่วนผู้ชายจะต้องการโปรตีนประมาณ 60 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ผู้มีปัญหาสุขภาพก็อาจต้องได้รับโปรตีนแตกต่างกันไป
โปรตีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อเป็ด เนื้อไก่ เนื้อปลา เป็นต้น นม ไข่ ถั่วเหลือง พืชผัก ถั่ว และเมล็ดพืช
ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน Plant protein เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนไอโซเลท ผ่านการสกัดโปรตีนจากพืชทำให้ได้โปรตีนที่มีความเข้มข้นสูงถึง 90% ที่ร่างกายดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปใช้สร้างพลังงานได้ทันที เหมาะกับผู้มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือผู้สูงอายุที่ร่างกายต้องการนำสารอาหารไปใช้แต่ดูดซึมได้น้อย นอกจากจะช่วยเสริมสร้างโปรตีนและกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และผัก ผลไม้ มากกว่า 22 ชนิด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังมีใยอาหารที่ช่วยให้อิ่มท้อง
โพรไบโอติก (Probiotic) คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีหลายร้อยสายพันธุ์ทั้งแบคทีเรียและยีสต์ โพรไบโอติกจัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี มีส่วนช่วยในการผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เป็นต้น โดยปริมาณที่ควรรับประทานโพรไบโอติกต่อวัน คือตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU
ทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติกและพรีไบโอติกได้ที่บทความ : โพรไบโอติก (probiotic) ต่างจาก พรีไบโอติก (prebiotic) อย่างไร?
พรีไบโอติก (Prebiotic) คือสิ่งไม่มีชีวิตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก จึงถูกส่งต่อไปย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ลำไส้ใหญ่ ประโยชน์ของพรีไบโอติกมีส่วนช่วยให้โพรไบโอติกเติบโตได้ดีขึ้น พรีไบโอติกสามารถพบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์และผลไม้ต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน Pre & Pro Biotics Shot รูปแบบชนิดผงกรอกปาก ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการท้องอืดและกรดไหลย้อน และช่วยบรรเทาอาการ Long covid ด้วยสารสกัดหลักคือ Ganeden BC30 ที่นำเข้าจาก USA มีความสามารถในการอยู่รอดทุกกระบวนการผลิตหลายรูปแบบ มีความสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังมี Premium quinoa extract วิตามินบีรวมจากธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินสังเคราะห์
การที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราไม่สามารถทำงานได้ปกติหรือมีการทำงานที่แย่ลง ร่างกายของเราก็จะแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่าภูมิคุ้มกันตก โดยเราสามารถเช็คระบบภูมิคุ้มกันว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่ ด้วยการสังเกตร่างกายดังนี้
เป็นหวัดและป่วยได้ง่าย
ปกติแล้วคนที่มีสุขภาพที่ดีอาจจะมีการป่วยเล็กน้อย ไม่หนักมาก หรือป่วยประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี และอาการสามารถดีขึ้นได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากเรามีอาการป่วยบ่อยและป่วยเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราเริ่มอ่อนแอลง และพยายามต่อสู้กับเชื้อต่าง ๆ ภายในร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรรักษาสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์และมีวิตามินเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราให้แข็งแรง
ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
การที่ระบบย่อยอาหารของเรามีปัญหา เช่น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก หรือมีการอาเจียน ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลง เพราะระบบย่อยอาหารของเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อภูมิคุ้มกันของเรา หากระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลงก็จะทำให้เชื้อต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
มีภาวะเครียด
การมีภาวะเครียดสูงนั้นส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันในตัวเรา เพราะความเครียดจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ แย่ลงนั่นเอง
เมื่อเราทราบถึงสัญญาณเตือนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและหันกลับมาดูแลสุขภาพเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรง โดยวิธีที่เราจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ มีวิตามิน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และควรออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่ร่างกายขาดควบคู่กันไป เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีได้
25 เม.ย 2567
13 พ.ค. 2567
6 พ.ค. 2567
2 พ.ค. 2567