โอเมก้า 3 สารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ

Last updated: 9 ต.ค. 2566  |  3519 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โอเมก้า 3 สารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ

โอเมก้า 3 (Omega 3) เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดวงตา สมอง และหัวใจ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โอเมก้า 3 เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ จึงต้องรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 หรือรับประทานอาหารเสริม

 

โอเมก้า 3 คืออะไร ?


          โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โอเมก้า 3 พบมากในอาหารจำพวกปลาทะเล ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง เมล็ดพืชชนิดต่างๆ น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันคาโนลา และยังมีอาหารเสริมที่มีปริมาณมากอยู่นั่นก็คือ Fish oil โอเมก้า 3 เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการทำงานของสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบพัฒนาการการเติบโตของร่างกาย มีส่วนในการช่วยลดความดันโลหิต ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  มีส่วนช่วยในการบำรุงและพัฒนาระบบสมอง บำรุงสายตา ช่วยบรรเทาและป้องกันโรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคหอบหืด โรคไมเกรน ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจและสมองขาดเลือด

 

โอเมก้า 3 อุดมไปด้วยประโยชน์ต่างๆ


  ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด


กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการลดอาการอักเสบ ที่เกิดขึ้นจากสาร ลิวโคไตรอิน (leukotriene) ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดอาการหอบ ดังนั้นการเสริมอาหารที่มีน้ำมันปลา กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประจำก็จะช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้

  บำรุงการทำงานการทำงานของเซลล์สมอง


กรดไขมัน DHA ที่มีอยู่ในน้ำมันปลามีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อสมองโดยจะช่วยลดการเกาะตัวของเส้นใย หรือไฟบริลในสมอง ซึ่งเป็นตัวการในการทำลายเส้นใยประสาทส่วนความจำ กรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลาจึงมีส่วนช่วยบำรุง ปรับปรุงการทำงานของเซลล์สมอง มีส่วนในการช่วยเพิ่มความจำ และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ 

  บรรเทาอาการไมเกรน


กรดไขมัน EPA ที่มีอยู่ในกรดไขมันโอเมก้า 3 มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวด และยับยั้งการหลั่งของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ส่งผลให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือดลดลง ในช่วงที่หลอดเลือดในสมองตีบตัน ส่งผลทำให้อาจมีส่วนในการช่วยบรรเทาอาการไมเกรนลงได้

  บำรุงหัวใจและหลอดเลือด


กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นสารตั้งตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ซึ่งรวมถึงสารโพรสตาแกลนดิน-3 (Prostaglandins-3) และสารทรอมบอกแซน-3 (Thromboxane-3) ซึ่งจะช่วยในการยับยั้ง การเกาะตัวของเกล็ดเลือดบนผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่อุดตัน และมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการลดจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้


  รักษาระดับน้ำตาลในเลือด


กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อย ซึ่งมักพบในผู้ที่เป็นโรคอ้วน กรดไขมัน EPA ในกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถเข้าไปควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้


  ช่วยรักษาอาการรูมาตอยด์


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่งผลทำให้เกิดอาการบวม ตึง ปวด และการสูญเสียการทำงานของข้อต่อ จึงได้มีศึกษาทางการแพทย์ พบว่าการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ร่วมกับยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้

 

  ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม


มีงานวิจัยบางงาน พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง มีแนวโน้มที่จะมีโอกาสในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมลดลง กรดไขมันโอเมก้า 3 จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคตาบอดได้

 

โอเมก้า 3 มีกี่ประเภท

 


  กรดไขมันดีเอชเอ (DHA)


กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) เป็นโอเมก้า 3 ที่มาจากอาหารทะเล พบในปลา กรดไขมัน DHA มีบทบาทสำคัญในการช่วยบำรุงพัฒนาสมอง และดวงตา ช่วยเสริมสร้างและป้องกันการเสื่อมของสมอง การเรียนรู้ ความจำ ตลอดจนระบบการมองเห็นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  กรดไขมันอีพีเอ (EPA)


กรดไขมันอีพีเอ (EPA) เป็นโอเมก้า 3 ที่มาจากอาหารทะเล พบในปลา กรดไขมัน EPA มีส่วนช่วยในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน และยังช่วยในการบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม และโรคไขข้ออักเสบได้อีกด้วย

  กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA)


กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในพืช กรดไขมันชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดอื่น ๆ ได้ ซึ่งโดยปกติร่างกายเราไม่สามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้ได้เอง จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารจำพวก เมล็ดพืช และถั่วต่างๆ

 

วิธีการรับประทาน โอเมก้า 3 ให้เห็นผล

 

  1. ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพ แนะนำให้รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ตั้งแต่ 250– 500 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อบำรุงสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
  2. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือที่กำลังให้นมบุตร ให้รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 โดยเฉพาะ ปริมาณ DHA ให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 มิลลิกรัม
  3. สำหรับเด็ก สำหรับเด็กทารก และเด็กเล็กแนะนำให้ทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ปริมาณ 50 – 100 มิลลิกรัมต่อวัน
  4. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลายๆองค์กร และสมาคมโรคหัวใจของอเมริกา มีการแนะนำให้รับประทานโอเมก้า 3 วันละ 1,000 มิลลิกรัม หรือ ปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะไขมัน ชนิดไตรกลีเซอไรด์สูงร่วมด้วย มีการแนะนำวันละ 2,000 – 4,000 มิลลิกรัม
  5. ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หรือมีความเครียด แนะนำให้ทานกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ 200 – 2,000 มิลลิกรัม  หรือในขนาดที่เหมาะสม
  6. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ตั้งแต่ขนาด 500 – 3,000 มิลลิกรัม จะช่วยลดความดันโลหิตสูงลงได้

 

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3


  ปลาและอาหารทะเล


ปลาและอาหารทะเลเป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไอโอดีน แคลเซียม และเซเลเนียม รวมทั้งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่เป็นจำนวนมาก โดยปลาและอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มักเป็นปลาในทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน นอกจากนี้ ปลาที่มีเนื้อสีขาวก็จะมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 มากเช่นเดียวกัน

  ธัญพืชและถั่วต่างๆ


ผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ อาจรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จำพวกถั่วหรือธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท หรือเมล็ดฟักทอง


  น้ำมันพืช


น้ำมันพืชบางชนิดก็อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันคาโนล่า โดยสามารถนำน้ำมันพืชเหล่านี้มาปรุงอาหารได้

 

โอเมก้า 3 ใครบ้างที่ควรรับประทาน


ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น หรือผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ก็สามารถรับประทานโอเมก้า 3 ได้ โดยควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

 

ผลข้างเคียงเมื่อร่างกายขาด โอเมก้า 3 


หากได้รับโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งอาจทำให้มีผิวหนังที่สาก หยาบ หรือมีลักษณะลอกเป็นเกล็ด รวมทั้งเกิดผื่นแดง บวม และทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

 

สรุป

 

โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โอเมก้า 3 พบมากในอาหารจำพวกปลาทะเล ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง เมล็ดพืชชนิดต่างๆ น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันคาโนลา โอเมก้า 3 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) กรดไขมันอีพีเอ (EPA) และ กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญ ช่วยในการบำรุงสมอง บรรเทาและป้องกันโรงความจำเสื่อม ช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบพัฒนาการการเติบโตของร่างกาย มีส่วนในการช่วยลดความดันโลหิต ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ และช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้

 

Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้