Last updated: 8 ส.ค. 2566 | 8743 จำนวนผู้เข้าชม |
ในปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจ ดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพ นั่นก็คือ การรับประทานอาหารเสริม โดยอาหารเสริมที่หลายคนนิยมรับประทาน หรือรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ก็คือ อาหารเสริมน้ำมันปลา หรือ Fish oil ซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนก็จะทราบว่าประโยชน์ของน้ำมันปลา คือ ช่วยในการบำรุงสมองและระบบความจำ แต่จริงๆน้ำมันปลายังมีประโยชน์อีกมากมายต่อร่างกายของเราที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้
น้ำมันปลา (Fish oil) เป็นไขมันที่สกัดมาจากปลาตามแหล่งทำธรรมชาติ ซึ่งสกัดมาจากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหาง โดยส่วนใหญ่สกัดได้มาจากปลาทะเลน้ำลึก และเป็นปลาในเขตหนาว ปลาเหล่านี้จะกินสาหร่ายเซลล์เดียว และปลาขนาดเล็กจึงมีการสะสมกรดไขมันที่ดีไว้ในร่างกาย และยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3, EPA และ DHA ในปริมาณที่สูง ที่มีประโยชน์สูง และส่งผลดีต่อร่างกายของมนุษย์มากกว่าปลาทั่วไปอีกด้วย โดยปลาส่วนใหญ่ที่นำมาสกัด จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีความมัน และต้องมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีสารปนเปื้อนในน้ำ และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความสะอาด และปลอดภัยของร่างกาย
น้ำมันปลา (Fish oil) มีส่วนช่วยในการลดการสร้างไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับและช่วยส่งผลให้ลดโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลงานวิจัยทางการแพทย์ระบุไว้ว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยลดไขมันร้ายได้ 20% - 50% และที่สำคัญคือปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับยาในการลดระดับไขมันในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้
ในน้ำมันปลา (Fish oil) จะมีกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา มีงานวิจัยพบว่า โอเมก้า-3 จะช่วยผลิตน้ำตามากขึ้น ช่วยให้ดวงตามีความชุ่มชื้นมากขึ้น และยังช่วยลดอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของสายตาพร่ามัว
การรับประทานน้ำมันปลา (Fish oil) จะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรืออาการสมองเสื่อมได้ เนื่องจาก DHA ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา จะช่วยเพิ่มสารที่ช่วยลดการสร้างเส้นใยในสมอง ซึ่งเป็นตัวการในการทำลายใยประสาทส่วนความจำ จึงทำให้ป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรทอสมองเสื่อมได้
การรับประทานน้ำมันปลา (Fish oil) จะมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและช่วยลดไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง
น้ำมันปลา (Fish oil) มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดตามข้อได้ เนื่องจากมีกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบ อาการตึงแน่นของข้อ และน้ำมันปลา (Fish oil) ยังช่วยลดอาการข้อยึด ในผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากมี EPA ที่ช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ปวด บวมข้อ นอกจากนี้น้ำมันปลายังช่วยเพิ่มการสร้างสารที่มีคุณสมบัติทำให้อาการอักเสบต่างๆ ของข้อลดลงได้
กรดไขมัน Omega-3 ในน้ำมันปลา (Fish oil) มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงมีทำให้ความดันลดลง โดยน้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อผู้ที่มีความดันโลหิตปกติแต่อย่างใด
มีผลงานวิจัยในต่างประเทศที่เชื่อถือได้ พบว่าการรับประทานปลาที่มีไขมันปริมาณมาก อาจมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น สะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง โดยจะช่วยลดอาการคัน และทำให้การเกิดผื่นแดงน้อยลง
การรับประทานน้ำมันปลา (Fish oil) เป็นประจำ จะช่วยลดสารสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด ช่วยให้มีการหายใจได้ดีขึ้น
น้ำมันปลา (Fish oil) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพรอสตาแกลนดิน และช่วยลดการหลั่งของสารซีโลโทนิน ส่งผลให้การเกาะตัวของหลอดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง จึงอาจสามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้
มีผลงานวิจัยที่ระบุไว้ว่า ผู้ที่รับประทานน้ำมันปลา (Fish oil) เป็นประจำ จะมีอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เนื่องจากสมดุลของกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงของการเกิดโรคซึมเศร้า การวิจัยพบว่าคนที่มีระดับกรดไขมัน Omega-3 ต่ำ แต่ Omega-6 สูง มีโอกาสที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าปกติ
ในน้ำมันปลา หรือ Fish oil มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ โอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว และเป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น จึงมีความจำเป็นต่อร่างกายมาก กรดไขมัน Omega-3 มีประโยชน์มากมายต่อร่างกายและมีสารสำคัญ ได้แก่ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดอาการปวดข้อ ลดอาการอักเสบ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และช่วยในส่องของสมองและความจำ โดยเฉพาะ DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองและดวงตา มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในเด็กได้อีกด้วย
องค์การอนามัยโลกได้มีการแนะนำปริมาณ Fish oil ที่ควรรับประทาน โดยให้รับประทานปลาในขนาดที่ให้ EPA และ DHA วันละ 200-500 มิลลิกรัม นอกจากนี้ก็ยังได้มีการแนะนำให้รับประทาน Omega-3 ในปริมาณ 1.1 กรัมต่อวันในผู้หญิง และ 1.6 กรัม ต่อวันในผู้ชาย แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 3 กรัมต่อวัน ส่วนขนาดรับประทานสำหรับเด็กเล็ก ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนระบุไว้
น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาค็อด จึงเรียกว่า cod liver oil ซึ่งจะแตกต่างน้ำมันปลา ที่สกัดจากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหางของปลา
น้ำมันตับปลามีวิตามิน A และวิตามิน D สูง ซึ่งวิตามิน A ช่วยบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นได้ดีในที่มืดหรือที่ที่แสงสลัว และยังช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค สร้างเยื่อบุผิวหนังและกระดูก ส่วนวิตามิน D ก็จะมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหารผ่านเยื่อบุลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
เนื่องจากวิตามิน D ในน้ำมันตับปลาจะช่วยเพิ่มการดูดซึมกลับของแคลเซียม และฟอสฟอรัส จึงเหมาะกับผู้ป่วยโรคไต นอกจากนี้ยังเหมาะกับเด็กที่มีปัญหาในเรื่องของกระดูก หรือเสี่ยงต่อภาวะกระดูกอ่อนอีกด้วย
ถึงแม้ว่าน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามิน A และวิตามิน D แต่ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินความจำเป็น เนื่องจาก ตับมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง หากรับประทานมากเกินความจำเป็น ก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายในการรับประทาน
ผู้ที่แพ้ปลาทะเลหรือสารที่ใช้ในการผลิตน้ำมันปลา ซึ่งต้องสังเกตจากฉลากของผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อ
ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น แอสไพริน เป็นต้น
ผู้ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือบุคคลที่เลือดหยุดไหลยาก เช่น ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือบุคคลที่มีความต้องการที่จะทำการผ่าตัดในระยะเวลาอันใกล้
ไม่ควรรับประทาน Omega-3 เกินวันละ 3,000 มก.
สรุปแล้ว น้ำมันปลา หรือ Fish oil เป็นไขมันที่สกัดมาจากปลาตามแหล่งทำธรรมชาติ ซึ่งสกัดมาจากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหาง โดยส่วนใหญ่สกัดได้มาจากปลาทะเลน้ำลึก และเป็นปลาในเขตหนาวที่สะสมไขมันดีไว้ในร่างกาย มีกรดไขมัน Omega-3 , EPA และ DHA ในปริมาณที่สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น มีส่วนช่วยบำรุงสมองและความจำ ลดอาการปวดข้อ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และยังช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย
Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต
27 พ.ย. 2566
21 ก.ย. 2566
18 ก.ค. 2566