ฮอร์โมน (Hormones) สำคัญกับร่างกายอย่างไร

Last updated: 9 ต.ค. 2566  |  833 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฮอร์โมน (Hormones) สำคัญกับร่างกายอย่างไร

          ฮอร์โมน (Hormones) เป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย ฮอร์โมนมีหลายกลุ่ม หลายชนิด ซึ่งในเพศหญิงและเพศชายก็จะมีฮอร์โมนที่ต่างชนิดกัน จึงมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน นอกจากชนิดของฮอร์โมนจะต่างกันแล้ว ปริมาณและหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่บะช่วงวัยก็ยังแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้นฮอร์โมนจึงมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่มีฮอร์โมน ร่างกายของเราก็อาจจะมีภาวะความผิดปกติบางอย่างได้

 

8 ฮอร์โมนสำคัญของร่างกาย

 

   เอ็นโดฟิน


เอ็นโดรฟิน (Endorphin) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกที่จากใต้สมอง เป็นฮอร์โมนที่เปรียบเหมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งขึ้นมาเมื่อมนุษย์มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย มีความพอใจ และจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก แต่ถ้าอยู่ในภาวะเครียดหรือวิตกกังวล ฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดลง 

 

   โดพามีน


โดพามีน (Dopamine) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความรู้สึกยินดี และรักใคร่ เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทหลายๆส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาท การเคลื่อนไหว และการเรียนรู้ เป็นต้น หากโดพามีนในร่างกายต่ำเกินไปจะทำให้มนุษย์มีความรู้สึกซึมเศร้าและหดหู่ได้ ซึ่งตวามรู้สึกเหล่านี้จะส่งผลให้เป็นโรคทางจิตเวชได้ ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาโดยนำฮอร์โมนโดพามีนมาใช้ในการรักษา และนอกจกนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีโดพามีนในปริมาณที่ต่ำเกินไป จะส่งผลให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง จึงทำให้ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทไม่สัมพันธ์กัน

   เซโรโทนิน


เซราโทนิน (Seratonin) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยต้านความเครียดที่หลั่งออกมาจากสมองและหลั่งออกมาจากทางเดินอาหาร มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ พฤติกรรม การนอนกลับ และอารมณ์ ถ้าระดับฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำเกินไป ก็จะส่งผลทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ และอาจมีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน และอาจมีอาการเป็นภาวะซึมเศร้าได้


   คอติซอล


คอร์ติซอล (Cortisol) ถือว่าเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับความเครียด เมื่อมีความเครียด มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ในร่างกาย ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อให้พร้อมในการฟื้นฟูร่างกาย คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อความเจ็บปวด ภาวะการอักเสบและการติดเชื้อ และคอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลออกมามากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่มีความเครียด ร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติ จึงทำให้กินเยอะขึ้น มีความอยากอาหาร หิวบ่อยมากขึ้น และน้ำหนักก็ขึ้นได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้คอร์ติซอลยังมีส่วนในการช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้อีกด้วย


   อดรีนาลีน


อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต เป็นสารที่เกี่ยวกับความโกรธ และเกี่ยวกับการป้องกันตัว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีการเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อการใช้พลังงานและภาวะการฉุกเฉิน จึงทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานได้ดี หัวใจบีบตัวได้มากขึ้น อัตรการเต้นของหัวใจและความดันสูงขึ้น และสามารถทำในสิ่งที่เมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ โดยปกติอะดรีนาลินจะหลั่งช่วงที่เราตื่นเต้นหรือมีภาวะฉุกเฉิน หลังจากนั้นจะลดลงมาอยู่ในระดับปกติ แต่ถ้าอะดรีนาลีนหลั่งมากผิดปกติก้อาจจะเกิดจากความผิดปกติของต่อมหมวกไตได้

   เทสโทสเตอโรน


เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งมาจากอัณฑะ ใช้คอเลสเตอรอลในการสังเคราะห์ ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีไขมันเพื่อสังเคราะห์เป็นฮอร์โมนเพศได้ โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจนโต พัฒนาตามวัย มีหนวด เครา ขนขึ้น เสียงแตก มีกล้ามใหญ่ขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ หากมีฮอร์โมนเพศชายต่ำ ในเด็กจะมีการพัฒนาเป็นเพศชายที่ไม่สมบูรณ์ และเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลง ซึ่งก็จะมีผลต่อมวลกระดูก กล้ามเนื้อ และการมีเพศสัมพันธ์ได้

   เอสโตรเจน


เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ถูกสร้างจากรังไข่  ทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเจริญเติบโต พัฒนาตามวัย มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น มีเต้านม สะโพกผาย มีผิวที่ดีขึ้น มีประจำเดือน การตกไข่ และมีส่วนช่วยในการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ หากฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง ก็จะมีภาวะของการหมดประจำเดือน หรือมีอาการวัยทอง และยังมีความเสี่ยงที่กระดูกจะบางมากขึ้นด้วย

   โปรเจสเตอโรน


โปรเจสเตอโรน (Progesterone) คือสารธรรมชาติที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะฮอร์โมนชนิดนี้จะสูงขึ้นใรช่วงที่กำลังจะตั้งครรภ์หรือมีรอบเดือน เป็นช่วงที่เตรียมพร้อมจะให้ไข่ที่ได้รับจากสเปิร์มแล้วมาฝังตัว โปรเจสเตอโรนหลั่งได้จากรังไข่และต่อมหมวกไต ฮอร์โมนชนิดนี้จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เตรียมพร้อมกับการฝังตัวของตัวอ่อนในการตั้งครรภ์ ถ้าไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน แต่ถ้ามีการตั้งครรภ์โปรเจสเตอโรนจะยังคงมีระดับสูงอยู่

 

ทำความรู้จักกับฮอร์โมนเพศหญิง


ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

 

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง โดยมีผลต่อการเจริญเติบของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน หากมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปอาจส่งผลให้มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย และมีอารมณ์แปรปรวนง่าย
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือน ช่วยในการดูแลการตั้งครรภ์และควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกาย
  • ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ช่วยกระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโตและพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ และมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์
  • ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ไข่เจริญเต็มที่แล้วตกจากรังไข่เพื่อพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง

  • ช่วงอายุที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง ก็จะส่งผลต่อฮอร์โมนได้เช่นกัน
  • ความเครียด จะทำให้ฮอร์โมนมีความผิดปกติได้
  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารจำพวกไขมันสูง ของหวาน หรือการดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะส่งผลให้ฮอร์โมนผิดปกติได้
  • มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) หากเกิดภาวะนี้ก็จะทำให้การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเกิดขึ้น
  • ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมน

 

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ในช่วงวัยทอง


           ในช่วงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เพศหญิงหยุดการมีประจำเดือน และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ซึ่งวัยทองก็จะเกิดตามช่วงวัย อายุของแต่ละบุคคล โดยอายุเฉลี่ยที่จะเกิดอาการวัยทองจะอยู่ที่ประมาณ 48-52 ปี และนอกจากจะเกิดจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ก็อาจเกิดจากการผ่าตัดท่อนำรังไขาทั้งสองข้างออก ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ หรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

           โดยอาการวัยทองที่สามารถสังเกตได้ทั่วไป คือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกเยอะ รู้สึกวิตกกังวล ใจสั่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และมีปัญหาด้านการนอนหลับ

 

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อระดับของฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล

 

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ มาไม่สม่ำเสมอ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีอาการก่อนประจำเดือนที่ผิดปกติ  (Premenstruation syndrome)
  • นอนหลับยาก
  • กระดูกบางลง และเปราะง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • ช่องคลอดมีความแห้งและฝ่อตัว มีผลต่อการมีเพศสัมพันธุ์
  • มีถุงน้ำ เนื้องงอกที่มดลูก รังไข่ และเต้านมเกิดขึ้นได้

 

 

วิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง


1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดความเครียดสะสม ฮอร์โมนความเคยดจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป ส่งผลให้ไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศได้ การพักผ่อนให้เพียงพอจึงช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติได้

2. หลีกเลี่ยงภาวะที่ก่อให้เกิดอาการเครียด


ควรหลีกเลี่ยงภาวะความเครียด เพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพที่ดี เราจึงต้องรักษาดูแลสุขภาพทางจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ


3. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมน หากรับประทานแต่อาหารที่มีไขมัน น้ำตาลสูง ก็จะส่งสมให้สมดุลของฮอร์โมนเสียไป


4. งดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ จะทำให้สมดุลฮอร์โมนเสีย การผลิตฮอร์โมนจะผลิตออกมาได้ไม่เพียงพอ ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาในร่างกายได้

5. ทานอาหารเสริมปรับสมดุลฮอร์โมน

ควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีน โดยจะแนะนำเป็นโปรตีนจากพืช เช่น อัลมอนด์ ถั่วเหลือง ควินัว เมล็ดฟักทอง เนื่องจากโปรตีนจากพืชจะช่วยลดความเสี่ยงในการมีบุตรยาก ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และเสริมภาวะการเจริญพันธุ์ได้

6. ลดน้ำหนัก

ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ รังไข่อาจทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ดังนั้นเราจึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม พอดีเกณฑ์

 

ทำความรู้จักกับฮอร์โมนเพศชาย


ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากอัณฑะ ฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ และส่งผลต่อการทำงานของส่วนอื่นๆในร่างกาย โดยจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดไขมันสะสมในร่างกาย ช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศชาย คือ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตตามช่วงวัยของเพศชาย โดยจะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเต็มที่ เช่น องคชาติขยายใหญ่และยางขึ้น มีขนขึ้นตามอวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

 

สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง

  • มีการติดเชื้อที่บริเวณลูกอัณฑะ
  • มีความผิดปกติทางด้านฮอร์โมนจากโรคเลือดกับสมอง
  • มีโรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ เช่น โรคตับและไตเรื้อรัง โรคเอดส์
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • เกิดอุบัติเหตุบริเวณลุกอัณฑะ และอาจมีการบาดเจ็บร่วมด้วย

 

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

  • อารมณ์แปรปรวนบ่อย หงุดหงิดง่าย
  • มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
  • มีปัญหาในการนอนหลับ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
  • รู้สึกไม่กระฉับกระเฉง
  • มีอาการซึมเศร้า รู้สึกขากความมั่นใจ
  • อ้วนลงพุง  

 

วิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย

  • งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอดและของหวาน
  • ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งปละไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักไม่ควรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด

 

 ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศ

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง


การใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งผลข้างเคียงที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

  • โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke)
  • โรคเส้นเลือดหัวใจ
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
  • โรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis)
  • มีผลกระทบต่อการทำงานของตับ ในกรณีที่ใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชายชนิด cyproterone acetate

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศชาย


การใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศชาย อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คืออาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia) ได้

 

 

 ใครบ้างที่ควรตรวจระดับฮอร์โมน


          การตรวจระดับฮอร์โมนสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป เนื่องจาก ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงช่วงอายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป และเมื่อสมดุลของฮอร์โมนมีการเสียไป ก็อาจจะก่อให้เกิดภาวะหรือความผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมได้ นอกจากนี้ผู้ที่ควรตรวจฮอร์โมนก็คือกลุ่มที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คนที่สูบบุหรี่ กลุ่มคนที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นระยะเวลานาน รวมถึงกลุ่มคนที่พักผ่อนไม่เพียงพอด้วย

 

สรุป


           ฮอร์โมน (Hormones) ป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย ฮอร์โมนมีหลายกลุ่ม หลายชนิด ซึ่งในเพศหญิงและเพศชายก็จะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกัน หากขาดฮอร์โมน ก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายของเราเกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลตัวเอง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสมดุลฮอร์โมนให้มีความปกติอยู่เสมอ

 

Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้