Vitamin C มีกี่ชนิด ทานอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์ ?

Last updated: 23 พ.ย. 2565  |  1579 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Vitamin C มีกี่ชนิด ทานอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์ ?

วิตามินซี แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่มาของวิตามินซี ดังนี้

1. วิตามินซีสังเคราะห์ (Synthetic Vitamin C)

2. วิตามินซีจากธรรมชาติ (Natural Vitamin C)

การรับประทานวิตามินซีครั้งละ1,000-1,500 มิลลิกรัม พบว่าร่างกายจะดูดซึมวิตามินซีได้เพียง 50% นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดของวิตามินซีที่รับประทานต่อครั้งมีผลต่อการดูดซึม คือการรับประทานวิตามินซีขนาดสูงร่างกายจะดูดซึมวิตามินได้น้อยกว่าการรับประทานวิตามินซีขนาดต่ำ ดังนั้นการรับประทานวิตามินซีวันละหลายครั้งในขนาดที่ต่ำกว่า 1 กรัม จนครบขนาดที่แนะนำต่อวัน ร่างกายจะสามารถดูดซึมวิตามินซีได้มากกว่าการรับประทานทั้งหมดในครั้งเดียว นอกจากนี้ปริมาณการดูดซึมวิตามินซียังอาจแตกต่างกันไปขึ้นกับรูปแบบและส่วนประกอบอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์

 

ปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ?

 

  ผู้ชายควรได้รับวิตามินซี 100 มิลลิกรัมต่อวัน

  ผู้หญิงควรได้รับวิตามินซี 85 มิลลิกรัมต่อวัน

  หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวิตามินซี 95 มิลลิกรัมต่อวัน

  ส่วนหญิงให้นมบุตรควรได้รับวิตามินซี 145 มิลลิกรัมต่อวัน

  ผู้สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มอีกจากปกติ 35 มิลลิกรัมต่อวัน

  ในกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจะมีความต้องการวิตามินซีเพิ่มขึ้น ปริมาณที่ควรได้รับอยู่ระหว่าง 200-500 มิลลิกรัมต่อวัน

  ในกรณีรับประทานเพื่อช่วยในเรื่องภูมิต้านทานร่างกายและการบำรุงผิวพรรณควรทานวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

ประโยชน์ของวิตามินซี Vitamin C ช่วยอะไรบ้าง ?

วิตามินซี มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ลดการเกิด lipid peroxidation และยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็ง ไนโตรซามีน (nitrosamine) วิตามินซีมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ คอลลาเจน (collagen) คาร์นิทีน (carnitine) และสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) มีบทบาทต่อเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรต ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงการเพิ่มภูมิต้านทาน

 

 

วิตามินซีมีกี่ชนิด กี่รูปแบบ

วิตามินซีแบบตอกเม็ด

วิตามินซีจะถูกปลดปล่อยออกจากเม็ดยาอย่างช้า ๆ แต่ระดับวิตามินซีในกระแสเลือดเมื่อรับประทานรูปแบบ buffered ไม่แตกต่างจากรูปแบบเม็ดทั่วไปที่มีการปลดปล่อยทันที อย่างไรก็ตามรูปแบบ buffered จะระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยกว่ารูปแบบเม็ดที่มีการปลดปล่อยทันที จึงอาจเป็นผลดีต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ข้อเสียของรูปแบบเม็ดแบบนี้คือเม็ดยามีขนาดใหญ่ กลืนลำบาก

วิตามินซีแบบอม

เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืนเม็ดยา แต่เนื่องจากวิตามินซีเป็นกรดเมื่ออมบ่อยๆ อาจทำให้ฟันกร่อนได้ เนื่องจากกรดทำให้เคลือบฟันบางลง

วิตามินซีแบบเม็ดฟู่

เหมาะสำหรับเด็ก ซึ่งมีการแต่งสีและรสของวิตามินซีให้น่ารับประทาน หากรับประทานในปริมาณมากๆ อาจทำให้ฟันผุได้ เนื่องจากวิตามินซีในรูปแบบนี้มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง

วิตามินซีแบบแคปซูล

มีทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม โดยส่วนใหญ่การกลืนเม็ดแคปซูลทำได้ง่ายกว่ารูปแบบเม็ดสำหรับรับประทาน

วิตามินซีแบบสารละลาย

เป็นรูปแบบที่ไม่เหมาะสำหรับการใช้เป็นประจำทุกวันหรือเพื่อป้องกันหวัด เพราะต้องให้แพทย์หรือพยาบาลฉีดยาให้

วิตามินซีในอาหารเสริม

ตามของประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกําหนดการใช้สวนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑเสริมอาหารชนิดวิตามินและแร่ธาตุ

 

กินวิตามินซีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ?

วิตามินซีมีความเป็นพิษน้อย อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดปริมาณสูงสุดของวิตามินซีที่รับได้ในแต่ละวันซึ่งไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นกับปริมาณวิตามินซีที่บริโภค เช่น อาการคลื่นไส้ ปวดเกร็งในช่องท้อง และท้องเสีย เป็นต้น

 

วิธีทาน Vitamin C ให้ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุด

  เลือกเวลากินวิตามินซีพร้อมมื้อเช้าและมื้อเย็น 

  กำหนดปริมาณการทานวิตามินซีต่อวันให้เหมาะสม

  รับประทานวิตามินซีร่วมกับสารอาหารอื่น ๆ  

  สำรวจตนเองเป็นประจำ ป้องกันการทานวิตามินซีเกินขนาด 

 

Vitamin C ทำให้ผิวขาวกระจ่างใสได้จริงไหมและ ต่างจากการทานวิตามินซีป้องกันหวัดอย่างไร ?

สำหรับการทานวิตามินซีให้ผิวสวย เสริมสร้างคอลลาเจนให้แข็งแรง ผิวขาวใสเปล่งปลั่ง โดยทั่วไปต้องทานวิตามินซีในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการป้องกันโรคหวัด และควรต้องเป็นวิตามินซีที่สกัดจากธรรมชาติ ซึ่งหากเป็นการรับวิตามินซีปริมาณสูง จะให้ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวพรรณหรือชะลอวัยเพื่อรับคำแนะนำในการรับปริมาณวิตามินซีที่เหมาะกับร่างกายจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

 

วิตามินซีพบในแหล่งอาหารใดบ้าง ?

วิตามินซี พบมากในผัก และผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด มะขาม สตอร์เบอร์รี่ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะ มะละกอ ส้มโอ พริกหวาน คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้