ความสำคัญของโพรไบโอติกและพรีไบโอติกที่ต้องรู้!

Last updated: 18 พ.ย. 2565  |  2760 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความสำคัญของโพรไบโอติกและพรีไบโอติกที่ต้องรู้!

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า โพรไบโอติก (Probiotic) และพรีไบโอติก (Prebiotic) จากหลากหลายช่องทาง ทั้งการโฆษณาหรือจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมว่า การรับประทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่ก็ยังมีอีกหลายคนเช่นกันที่ยังไม่รู้จักสองสิ่งนี้ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร 

ในบทความนี้เราจะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับโพรไบโอติกคืออะไร พรีไบโอติกคืออะไร และบอกคุณประโยชน์มากมายของเจ้าตัวโพรไบโอติกและพรีไบโอติก รวมถึงเราจะมาไขข้อสงสัยว่า สรุปแล้วโพรไบโอติกต่างจากพรีไบโอติกอย่างไร? เราจะพามาอธิบายอย่างละเอียดกันเลย

 

โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร ?

โพรไบโอติก (Probiotic) คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีหลายร้อยสายพันธุ์ทั้งแบคทีเรียและยีสต์ โพรไบโอติกมีขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี มีส่วนช่วยในการผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย อาหารที่มี Probiotic สูง มีหลายชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เป็นต้น

ในบางกรณีร่างกายของคนเราอาจมีผลทำให้จุลินทรีย์ชนิดนี้น้อยลง จนส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารได้ บางคนจึงต้องเสริมด้วยการทานอาหารกลุ่มที่มีโพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ชนิดนี้

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของสารอาหารต่าง ๆ ได้ที่ : ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน

 

พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร ?

พรีไบโอติก (Prebiotic) คือสิ่งไม่มีชีวิตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก จึงถูกส่งต่อไปย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ลำไส้ใหญ่ ประโยชน์ของพรีไบโอติกมีส่วนช่วยให้โพรไบโอติกเติบโตได้ดีขึ้น พรีไบโอติกพบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์และผลไม้ต่าง ๆ 

 

โพรไบโอติกและพรีไบโอติกแตกต่างกันที่ตรงไหน ?

โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดดี ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค โพรไบโอติกจึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลของระบบร่างกาย ในขณะที่ พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จะสามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติก ช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรไบโอติก อาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง 

 

การรับประทาน probiotic ควบคู่กับ prebiotic ให้ประโยชน์มากกว่าจริงหรือ ?

ตามที่เคยพูดถึงไปว่าพรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นอาหารของโพรไบโอติก (Probiotic) หากเรารับประทานอาหารจำพวกพรีไบโอติกเยอะ เช่น หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักและผลไม้ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกทำงานได้ดียิ่งขึ้น เมื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกทำงานได้ดีก็จะช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ทำให้ร่างกายเกิดสุขภาวะที่ดี ดังนั้นการรับประทานโพรไบโอติกควบคู่กับพรีไบโอติกก็จะช่วยเสริมสร้างความสมดุลให้ร่างกายนั่นเอง

 

บทบาทสำคัญของโพรไบโอติก (probiotic) ต่อร่างกาย

  • ป้องกันไม่ให้เชื้อเกาะจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยโพรไบโอติก (Probiotic) จะสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ ไม่ให้เชื้อเกาะจับได้ง่าย

  • มีประโยชน์ช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี

  • ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

  • กระตุ้นระบบย่อยอาหารโดยสร้างเอนไซม์หลายชนิด

  • ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป

  • ช่วยสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุล

 

ประโยชน์ของ probiotic ดีต่อระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ในร่างกาย

Probiotic ช่วยเรื่องอะไรบ้าง? ในปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก (Probiotic) ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยมีการปรับสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโพรไบโอติก เนื่องจากประเภทและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่ต่างกันจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

โดยประโยชน์ของโพรไบโอติกที่มีส่วนช่วยระบบในร่างกาย เช่น 

  • โรคระบบทางเดินอาหาร 
    เช่น ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน ท้องผูก ท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ ท้องร่วงจากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ท้องผูกเรื้อรัง บรรเทาโรคกระเพาะ

  • โรคภูมิแพ้ โรคผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อากาศ

  • โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน

  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

Probiotic ช่วยเรื่องอาการ Long Covid ได้จริงหรือ ?

อาการลองโควิด (Long Covid) คือภาวะของคนที่หายจากโรคโควิด-19 แต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ป่วยลองโควิดควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ รวมทั้งควรบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพหรือโพรไบโอติก (Probiotic) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ทานร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ทั้งนี้ผู้ป่วยลองโควิดควรสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการแย่ลง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป

 

Probiotic ประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดใดบ้าง ?

จุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotic) ในร่างกายของคนเรานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียว แต่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะส่งผลดีแตกต่างกันไป โดยชนิดจุลินทรีย์ในโพรไบโอติก มีดังนี้

 แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)

แลคโตบาซิลลัสเป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ สามารถพบได้ในร่างกายของคนเรา เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด แลคโตบาซิลลัสเป็นโพรไบโอติก (Probiotic) ที่พบมากในอาหารและนม เช่น โยเกิร์ต มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย 

  บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)

บิฟิโดแบคทีเรียมจะอาศัยอยู่ในช่องปาก ลำไส้ และช่องคลอด เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน มีประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหาร ช่วยผลิตกรดไขมันสายสั้น (Shot-chain fatty acids) และช่วยลดการอักเสบ โพรไบโอติกชนิดบิฟิโดแบคทีเรียมนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียจากการท่องเที่ยว อาการลำไส้แปรปรวน และอาการลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล โพรไบโอติกชนิดนี้สามารถพบได้ในโยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ ไวน์บางชนิด เป็นต้น

  แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)

แซคคาโรไมซิสเป็นยีตส์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาสมดุลในทางเดินอาหารมานานเกือบ 30 ปี ในปัจจุบันใช้ในการรักษาอาการท้องเสียหลายแบบ เช่น ท้องเสียในเด็กและทารก ท้องเสียในผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง ท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น โพรไบโอติกชนิดนี้สามารถพบได้ในเครื่องดื่มประเภทชาหมัก และมีจำหน่ายในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  จุลินทรีย์โพรไบโอติกประเภทอื่น ๆ

นอกจากนี้โพรไบโอติก (Probiotic) ยังมีจุลินทรีย์ประเภทอื่น ๆ เช่น 

  • แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei)

  • แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) 

  • บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)

 

Probiotic และ Prebiotic ควรกินตอนไหนถึงจะดี ?

หลายคนเคยสงสัยว่ากิน Probiotic และ Prebiotic ตอนไหน? ควรกินก่อนหรือหลังอาหาร? สำหรับพรีไบโอติกและโพรไบโอติกในรูปแบบอาหาร เช่น ผักผลไม้ ธัญพืช ถั่ว หรือโยเกิร์ต เป็นต้น สามารถรับประทานตามมื้ออาหารปกติได้เลย แต่ในรูปแบบอาหารเสริมสามารถรับประทานได้ดังนี้

  • โพรไบโอติก (Probiotic) สามารถกินตอนท้องว่างหรือตอนเช้าเริ่มต้นของวัน 

  • พรีไบโอติก (Prebiotic) สามารถกินได้ตั้งแต่ตื่นนอน หรือก่อนเข้านอน หรือก่อนอาหาร

 

ปริมาณ Probiotic ที่ควรรับประทานต่อวัน ?

ปริมาณที่ควรรับประทานโพรไบโอติกต่อวันคือ ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัว หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU (หน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว หรืออาหารเสริม ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไรก็จะยิ่งดีเท่านั้น เนื่องจากโพรไบโอติกจะสามารถอยู่ในร่างกายได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพลำไส้ อาหารและยาที่รับประทาน ที่จะส่งผลให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดีลดจำนวนลงเมื่อทานเข้าไปแล้ว ทั้งนี้ควรตรวจสอบฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกทุกครั้ง

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทาน โพรไบโอติก (probiotics) มากเกินไป

การรับประทานโพรไบโอติกต่อวันมากเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานโพรไบโอติกมากเกินไป มีดังนี้

  • เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น
  • เกิดท้องอืดหรือแน่นท้อง
  • เกิดอาหารปวดหัวจากสารเอมีน (Amines)
  • เกิดอาการต้านยาปฏิชีวนะ

หากรับประทาน Probiotic แล้วเกิดอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานทันที และควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุต่อไป

Probiotic มีในอาหารอะไรบ้าง ?

โยเกิร์ต

โยเกิร์ตเป็นอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง รับประทานง่าย มีหลากหลายรสชาติให้เลือก แต่ถ้าหากต้องการ Probiotic จากโยเกิร์ต ควรรับประทานโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต โดยจะระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ว่า Live and Active หรือ Live Probiotic หรือ Living Probiotic หรือ Active Probiotic และควรมีปริมาณ Probiotic ในโยเกิร์ตอย่างน้อย 100 ล้าน CFU

นอกจากนี้ควรเลือกโยเกิร์ตที่ระบุชนิดของพรีไบโอติกด้วย เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium), แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) เป็นต้น เพราะโพรไบโอติกสายพันธุ์เหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและภูมิคุ้มกันของเรา

 นมเปรี้ยว

 นมเปรี้ยวคือนมที่ผ่านการหมักจนได้โพรไบโอติกมา ซึ่งเราควรมองหานมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับโยเกิร์ตเพื่อให้โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากต้องการดื่มนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ควรเลือกนมเปรี้ยวชนิดที่ผ่านพาสเจอไรซ์

 อาหารหมักดอง

อาหารที่นำไปหมักดองจะให้โพรไบโอติกที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากจะช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร ช่วยเพิ่มระดับวิตามินในอาหาร แถมยังเป็นเอนไซม์ที่ช่วยต้านเชื้อ โรค และต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ด้วย

 กิมจิ

กิมจิเป็นหนึ่งในอาหารของประเทศเกาหลี และเป็นคำที่ใช้เรียกผักดองในภาษาเกาหลี มักจะทำมาจากกะหล่ำปลีเป็นส่วนใหญ่ กิมจิขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพราะอุดมไปด้วยโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและระบบย่อยอาหารได้

 ซุปมิโซะ

ซุปมิโซะ หรือมิโซะ เป็นเครื่องปรุงรสจากประเทศญี่ปุ่น ทำมาจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและเชื้อราชนิดดี โดยกระบวนการหมักนี้เองจึงเป็นแหล่งที่ดีของ Probiotic มิโสะสามารถใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่มโพรไบโอติกได้

 ดาร์กช็อกโกแลต

ดาร์กช็อกโกแลตมีจุลินทรีย์โพรไบโอติก ชนิดแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่จะช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

 ชีสบางชนิด

ชีสในท้องตลาดมีอยู่หลากหลายประเภท แต่ชีสที่มีโพรไบโอติกมีวิธีสังเกตง่าย ๆ คือที่ฉากผลิตภัณฑ์จะต้องมีคำว่า “live cultures” หรือ “active cultures” ซึ่งสามารถเจอได้ในมอสซาเรลล่าชีส เกาด้า เชดด้า คอทเทจ เป็นต้น

 เทมเป้


เทมเป้เป็นอาหารที่มาจากการนำถั่วเหลืองไปต้มและหมักกับเชื้อราที่ช่วยย่อยโปรตีนในถั่ว จนเกิดเป็นเส้นใยสีขาวยึดเกาะเมล็ดถั่วเข้าด้วยกันเป็นก้อน เทมเป้จึงมีโพรไบโอติก (Probiotic) ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบทางเดินอาหาร 

 ถั่วนัตโตะ

ถั่วนัตโตะ หรือถั่วเน่าญี่ปุ่น เป็นถั่วที่มีลักษณะเส้นใยเหนียว ๆ ลื่น ๆ ซึ่งได้จากการย่อยสลายของโปรตีนที่มีชื่อว่า Bacillus Subtilis อันเนื่องมาจากการหมักถั่ว ถั่วนัตโตะเป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติก ช่วยเสริมระบบย่อยให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันลำไส้ใหญ่เป็นแผล และโรคลำไส้อักเสบได้อีกด้วย

 ชาหมักคอมบูชา

คอมบูชาคือชาหมักจากชาดำหรือชาเขียว โดยผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำตาล และยีสต์ ชาหมักคอมบูชาจึงเป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติก แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

 

โพรไบโอติก (probiotic) ในอาหารเสริมหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันไหม ?

อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotic) มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกรับประทาน มีทั้ง Probiotic แบบผง, Probiotic แบบเม็ด, Probiotic แบบซอง, แบบผงชนิดกรอกปาก แบบเม็ดแคปซูล ยาเม็ดเคี้ยว แบบเจลลี่ หรือ Probiotic ในโยเกิร์ต เป็นต้น การรับประทานอาหารเสริมแต่ละรูปแบบให้ผลที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความถนัดหรือความชอบในการรับประทาน ดังนั้นสามารถเลือกรับประทานโพรไบโอติกในรูปแบบไหนก็ได้ตามความชอบของตนเอง

ตัวอย่างอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก 

 

Pre & Pro Biotics Shot ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก (Probiotic) รูปแบบผงกรอกปาก ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหารและการทำงานของลำไส้ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการท้องอืดและกรดไหลย้อน ด้วยสารสกัดหลักคือ Ganeden BC30 ที่นำเข้าจาก USA มีความทนต่ออุณหภูมิร้อนและเย็น มีความสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้ จึงแตกต่างจากโพรไบโอติกทั่วไปในท้องตลาด 

นอกจากนี้ยังมี Premium quinoa extract ที่เป็นวิตามิน B รวมจากธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินสังเคราะห์ถึง 400%

  สารสกัดสำคัญ

  • Ganeden BC30™ (Probiotic) เป็น Probiotic ที่มีความคงทนสูง จึงมีความสามารถในการอยู่รอดในกระบวนการผลิตทุกรูปแบบ ทนได้ทั้งอุณหภูมิร้อนและเย็น รวมถึงมีความสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้

  • GOFOS™ (Prebiotic) มีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก (Prebiotic) ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ

  • PANMOL-B-COMPLEX วิตามินจากธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าวิตามินสังเคราะห์ถึง 400% และยังประกอบไปด้วยวิตามิน B ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ วิตามิน B1, B2, B3, B5, B6, B7, B9 และ B12

Jelly Strip Prebiotics Detox ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรูปแบบเจลลี่ดีท็อกซ์ผสมพรีไบโอติก (Prebiotic) ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีที่ตกค้างอยู่ในร่างกายได้ และมีส่วนผสมของเส้นใยจากผักผลไม้มากกว่า 10 ชนิด จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ไม่ก่อให้เกิดการปวดมวนท้อง ช่วยควบคุมน้ำหนักและปรับสมดุลลำไส้ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  สารสกัดสำคัญ 

  • Golden kiwi extract มีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และไฟเบอร์ ช่วยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กับลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง Pholyphynols ช่วยต้านโรคมะเร็งและมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
  • Beta glucan from oat มีเส้นใยไฟเบอร์ถึง 35% เป็นไฟเบอร์ชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้ดูดซับคอเรสเตอรอลและไขมันเลว (LDL) ในร่างกายจากอาหาร และยังช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วอีกด้วย
  • Xylo-oligosaccharides (Prebiotic) ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้

 

โพรไบโอติกกับพรีไบโอติกควรเลือกซื้ออย่างไร ?

อาหารเสริม Prebiotic ยี่ห้อไหนดี และ Probiotic ยี่ห้อไหนดี ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน โดยวิธีการเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติกกับพรีไบโอติก ยี่ห้อไหนดี มีข้อควรในการเลือกซื้อดังนี้

  วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotic)

  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากอย.เสมอ

  • เลือกจากวิธีรับประทาน เช่น แบบผง แบบเม็ด แบบเจลลี่ เป็นต้น

  • ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์เสมอ

  • เลือกทานจุลินทรีย์ที่ถูกชนิด เช่น แลคโตบาซิลลัส 

  • เลือกจากปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ โดยปริมาณเชื้อแบคทีเรียต่อซองไม่ควรต่ำกว่า 1,000 ล้าน CFU

  วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic)

  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากอย.เสมอ

  • เลือกประเภทสารอาหารที่มีส่วนผสมและปริมาณที่ควรได้รับ เช่น สารสกัดจากเปลือกส้ม (Pectin) 5-20 g ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ (Beta Glucan) 100-500 mg เป็นต้น

  • ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์เสมอ

 

     โรงงานผลิตอาหารเสริม Derma Health เรารับผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพทุกประเภททั้ง OEM และ ODM เรามีบริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การคิดค้น วิจัย พัฒนาสูตรโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ใช้สารสกัดนวัตกรรมใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร นอกจากนี้เรายังรับบริการออกแบบโลโก้ ฉลากสินค้า ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีทีมปรึกษาด้านกลยุทธ์ทางการตลาดอีกด้วย

     หากสนใจผลิตอาหารเสริม เรามีทีมพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotic) และพรีไบโอติก (Prebiotic) สร้างแบรนด์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้