Last updated: 14 พ.ย. 2565 | 4551 จำนวนผู้เข้าชม |
ใบแปะก๊วย (Gingko) สมุนไพรโบราณที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถูกนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์แผนจีน มีสรรพคุณทางยาหลายชนิด อีกทั้งมีคุณประโยชน์ช่วยในการบำรุงร่างกาย และบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิตได้รับความนิยมจากกลุ่มคนรักสุขภาพ และผู้สูงอายุ เป็นสมุนไพรที่รับประทานได้ง่าย และดีต่อร่างกาย นอกจากคุณประโยชน์ที่กล่าวมานั้นยังมีอะไรอีก เดอร์มา เฮลท์ มีคำตอบค่ะ
ใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) สมุนไพรที่มีสรรพช่วยบำรุงร่างกาย และบรรเทาอาการต่าง ๆ โดดเด่นในเรื่องบำรุงระบบสมอง และระบบไหลเวียนเลือด เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถูกนำมาใช้ในแพทย์แผนจีน โดยส่วนที่นิยมนำมาสกัดหรือนำมาใช้ในการักษาอาการต่าง ๆ คือส่วนของใบ
สารสำคัญ 2 ชนิดในใบแปะก๊วย (Gingko) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ฟวาโวนไกลโคไซค์ (Flavone Glycoside) และ เทอร์ปีน แลคโตน (Terpene lactone) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายได้
ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกายและสมอง ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกายได้ดี
ช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมองได้ดี
ช่วยพัฒนาความคิด ทำให้มีสมาธิ และเพิ่มความจำได้ดีขึ้น
ช่วยต้านโรคซึมเศร้าสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
ช่วยบรรเทาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เพราะสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50%
ช่วยบรรเทาความกังวล และแก้ไขปัญหาสภาวะทางอารมณ์ได้
ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวกระจ่างใส และให้ผิวมีความยืดหยุ่นดีขึ้น
ช่วยลดความเสี่ยงการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง และลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และโรคหัวใจ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นภาวะอันตรายที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ
อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สารอาหารมากมาย เช่น วิตามินบีหลากชนิด เช่น ริโบฟลาวิน ไนอะซิน และกรดแพนโทเทนิก เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิตามินบี 6 ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งแร่ธาตุสำคัญ ๆ อย่าง แมงกานีส ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และเซเรเนียมรวมอยู่ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีความสำคัญต่อเรื่องระบบประสาท และการเผาผลาญของร่างกาย
ในยุคที่ผู้คนใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้มีการนำสมุนไพรหลากหลายชนิดมาบรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรูปแบบต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน มีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบ ทั้งผ่านและไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหาร และยาในประเทศไทย วิธีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบแปะก๊วย โดยมีหลักดังต่อไปนี้
เลือกทานยี่ห้อที่ได้การรับรองมาตรฐาน ความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เลือกซื้อในรูปแบบของแคปซูลนิ่ม เพื่อช่วยให้สารสำคัญแตกตัวให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่า
ไม่เลือกซื้อยี่ห้อที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่ผ่านการรับรอง เสี่ยงต่อสารปนเปื้อน สารโลหะหนัก
ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมาเป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น นม กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มสารกสัดจากใบแปะก๊วยพร้อมดื่ม สะดวกต่อการรับประทาน แต่เราจะได้รับสารสำคัญจากใบแปะก๊วยปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการดูแลสุขภาพ
การรับประทานใบแปะก๊วยนั้น ไม่ว่าจะรับประทานแบบใดก็ล้วนแต่มีประโยชน์ ให้สรรพคุณที่ดีแก่ร่างกาย และต้องไม่ลืมที่จะรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ควบคู่กันไปด้วย เพราะสารอาหารที่ครบถ้วน คือสิ่งที่ร่างกายมนุษย์เราต้องการมากที่สุดนั่นเองค่ะ
Jelly Strip Black Coffee Lemono ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมอาหารรูปแบบเจลลี่ สูตรบำรุงสมอง เพิ่มความสดชื่นให้ตื่นตัว ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย
สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย (Gingko) มีสรรพคุณต่อร่างกายมาก แต่หากทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ส่วนใหญ่อาการที่เกิดจะไม่รุนแรง อาทิเช่น ปวดท้องท้องร่วง และคลื่นไส้ อาเจียน หากมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องเป็นเวลานาน สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อนกัน วิงเวียน ควรหยุดรับประทานและรีบไปพบแพทย์
บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีภาวะความผิดปกติ ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการทานใบแปะก๊วย ดังนี้
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร อาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือมีเลือดออกมากระหว่างคลอดได้
ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติทรุดลงได้ เนื่องจากสารสกัดจากใบแปะก๊วย มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
ผู้ที่มีอาการชัก เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้
ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานแปะก๊วย เพราะอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงในผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD
ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก การรับประทานแปะก๊วยอาจส่งผลให้การตั้งครรภ์ยากขึ้นได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากกำลังวางแผนการตั้งครรภ์
ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานแปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะแปะก๊วยมีฤทธิ์ช่วยชะลอการเกิดลิ่มเลือด อาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้าลง หรือทำให้มีเลือดออกมากในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด
10 พ.ย. 2565
17 มี.ค. 2566